เมนู

ในป่า 2 ชนิดนั้น ป่าปลูก ได้แก่ป่าเวฬุวัน และป่าเชตวันเป็นต้น
ป่าเกิดเอง ได้แก่ป่าอันธวัน ป่ามหาวัน และป่าอัญชนวันเป็นต้น.
ป่าสุภควัน แม้นี้ พึงทราบว่า เป็นป่าเกิดเอง.
แม้ต้นรัง ในคำนี้ว่า สาลราชมูเล ท่านก็เรียกว่า ต้นสาละ.
สมดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ป่าสาลวัน
ใหญ่ ไม่ไกลบ้านหรือนิคม และป่าสาลวันใหญ่นั้นก็ดาดาษไปด้วย
ต้นละหุ่ง
และตรัสว่า ระหว่างนางรังทั้งคู่. แม้ต้นไม้โตที่สุด ท่านก็
เรียกว่า ต้นไม้เจ้าป่า. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ในภาคพื้นพระราชอุทยาน
ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีต้นไม้ใหญ่หลายต้น
มีค่าคบตรง เขียวชอุ่ม น่ารื่นรมย์
.
ถึงแม้ว่าต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ก็เรียกต้นไม้เจ้าป่าได้. สมดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล
เมล็ดเถาย่านทราย พึงหล่นไปที่โคนต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง
ดังนี้เป็นต้น.
แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาต้นไม่ใหญ่ที่สุด ชื่อว่า ต้นไม่เจ้าป่า.

อธิบาย ราช ศัพท์


ส่วน ราชศัพท์ แห่งบทว่า สาลราชมูเล นั้น ย่อมยังต้นไม้
นั้นนั่นเทียวให้สำเร็จความเป็นต้นไม้ใหญ่ที่สุด อย่างประโยคเป็นต้นว่า
ดูก่อนพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ก็. . .แห่งต้นไทรใหญ่ที่ยืนต้นอย่าง
มั่นคง
แม้ในที่อื่น. ในคำว่า สาลราชมูเล นั้น แยกออกเป็นสมาส
2 อย่าง (ฉัฏฐีตัปปุริสสมาสว่า) สาลานํ ราชา (ราชาแห่งต้นไม้

ทั้งหลาย) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สาลราชาบ้าง และเป็น (วิเสสน-
บุพพบทกัมมธารยสมาสว่า) สาโล จ โส เชฏฺฐกฏฺเฐน ราชา จ)
ต้นสาละนั้นด้วย เป็นราชา เพราะหมายความว่าใหญ่ที่สุดด้วย เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่า สาลราชาบ้าง. บทว่า มูลํ แปลว่า ใกล้. เพราะว่า
มูลศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ใกล้โคน ในประโยคมีอาทิว่า บุคคลพึง
ถอนโคน โดยที่สุดแม้มาตรว่า ลำต้นแฝก. มูลศัพท์ ใช้ในเหตุที่ไม่
ทั่วไป ในประโยคเป็นต้นว่า ความโลภ เป็นรากเหง้าของอกุศล อนึ่ง
มูลศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ใกล้ในประโยคเป็นต้นว่า ในเวลาเที่ยงวันเงาทับตัว
ด้วยเหตุทีเงา (ของต้นไม้) จะทับตัวในเวลาเที่ยงวัน และใบไม้หล่น
ในเวลาสงัดลม เงาก็จะทับต้นไม้ ใบไม้ก็จะหล่นใกล้ต้นไม้. แต้ในที่นี้
มูลศัพท์ท่านประสงค์เอาอรรถว่า สมีปะ (ใกล้) เพราะฉะนั้น พึง
ทราบเนื้อความในคำว่า สาลราชมูเล นี้ อย่างนี้ว่า ในที่ใกล้แห่งต้นรังใหญ่.
ในข้อนั้น พึงมีคำถามว่า ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่
ในเมืองอุกกัฏฐาก่อนไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวว่า ที่ใกล้ต้นรังใหญ่ในป่า
สุภควัน ถ้าว่าประทับอยู่ที่ใกล้ต้นรังใหญ่ในป่าสุภควันนั้นไซร้ ก็ไม่ควร
กล่าวว่า ในเมืองอุกกัฏฐา. เพราะว่า พระองค์ไม่อาจจะประทับอยู่
คราวเดียวกันในที่ 2 แห่งได้ ตอบว่า ก็แลข้อนั้น ไม่พึงเห็นอย่างนี้.
เราทั้งหลายได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า สัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้.
เพราะฉะนั้น ฝูงโค เมื่อเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น
ย่อมถูกเรียกว่าเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคา ใกล้แม่น้ำยมุนาฉันใด แม้ในที่
นี้ก็ฉันนั้น คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในป่าสุภควันใกล้
เมืองอุกกัฏฐา (และ) ในที่ใกล้ต้นรังใหญ่ ท่านก็เรียกว่า ประทับอยู่

ใกล้ต้นรังใหญ่ ในป่าสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐา ดังนี้. ก็คำว่า อุกฺกฏฺฐา
เป็นคำมีความหมายบ่งถึงโคจรคาม. ถึงคำว่า สุภควนํ เป็นคำมีความ
หมายบ่งถึงสถานที่อยู่ที่เหมาะแก่บรรพชิต ใน 2 คำนั้น ท่านพระ
อานนท์
แสดงการทรงทำความอนุเคราะห์ต่อคฤหัสถ์ของพระผู้มีพระภาค-
เจ้า
ด้วยการระบุถึงเมืองอุกกัฏฐา แสดงการทรงทำความอนุเคราะห์ต่อ
บรรพชิต ด้วยการระบุถึงป่าสุภควัน.
อนึ่ง ท่านพระอานนท์แสดงการเว้นอัตตกิลมาถานุโยค โดยทรงรับ
ปัจจัยด้วยคำต้น (อุกฺกฏฺฐา) แสดงการเว้นกามสุขัลลิกานุโยค โดยทรง
ละวัตถุกามด้วยคำหลัง (สุภควนํ) ท่านแสดงพระวิริยะในการทรง
แสดงพระธรรมด้วยคำต้น. แสดงพระอัธยาศัยที่น้อมไปในวิเวกด้วยคำ
หลัง. แสดงการเข้าถึงพระกรุณาคุณด้วยคำต้น. การเข้าถึงพระปัญญาคุณ
ด้วยคำหลัง. แสดงความที่พระองค์มีพระอัธยาศัยที่น้อมไปในการยังประโยชน์
เกื้อกูลและความสุขให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายด้วยคำต้น. แสดงความเป็น
ผู้ไม่หวังผลตอบแทนในการทำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ผู้อื่นด้วย
คำหลัง. แสดงการประทับอยู่อย่างสุขสำราญ เสียสละความสุขที่
ชอบธรรมเป็นเครื่องหมายด้วยคำต้น. แสดงการประทับอยู่อย่างสุข
สำราญ มีการหมั่นประกอบในอุตตริมนุสสธรรมเป็นเครื่องหมายด้วย
คำหลัง. แสดงความเป็นผู้มีอุปการะมากแก่มนุษย์ทั้งหลายด้วยคำต้น.
แสดงความเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เทวดาทั้งหลายด้วยคำหลัง. แสดง
ความที่พระองค์อุบัติในโลกแล้วเป็นผู้เจริญพร้อม (ทุกด้าน) ในโลก
ด้วยคำต้น. แสดงความเป็นผู้ไม่ติดอยู่กับโลกด้วยคำหลัง. ท่านพระ
อานนท์แสดงการยังประโยชน์ที่เป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติ

ขึ้นนั้นให้สำเร็จด้วยคำต้น เพราะบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์สุขแก่ชน
มาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์สุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย, บุคคลเอกคือใคร คือพระตถาคตเจ้า ผู้เป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ,
แสดงการประทับอยู่อันสมควรแก่
สถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นด้วยคำหลัง.
พึงทราบการประกอบความในคำว่า ยทตฺถํ ภควา อุปฺปนฺโน
ตทนุรูปวิหารํ
นั้น โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติ
ขึ้นที่เป็นโลกีย์และโลกุตตระ คือครั้งแรกประสูติที่ลุมพินีวัน ครั้งที่ 2
ตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์ เพราะเหตุนั้น พระอานนทเถระจึงแสดงที่ประทับ
สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นในป่าทั้งหมด.
บทว่า ตตฺร เป็นบทแสดงถึงสถานที่และเวลาก อธิบายว่า พระผู้-
มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ในสมัยใด พระอานนทเถระแสดงสถานที่และ
เวลานั้นว่า ในสมัยนั้น และประทับอยู่ในที่ใกล้ต้นรังใหญ่ใด ในที่ใกล้
ต้นรังใหญ่นั้น อีกอย่างหนึ่งย่อมทรงแสดงในสถานที่และเวลาที่ควรแสดง.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่ทรงแสดงธรรมในสถานที่หรือเวลา
ที่ไม่เหมาะ ก็ในข้อนี้มีคำเป็นต้นว่า ดูก่อนพาหิยะ เวลานี้ยังเป็นเวลา
ที่ไม่สมควรนะ
ดังนี้ เป็นเครื่องสาธก. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาต ลงใน
อรรถว่า ปทปูรณมัตตะ (สักว่าเป็นเครื่องทำบทให้เต็ม) บ้าง ใน
อรรถว่า อวธารณะ (ห้ามความอื่น) บ้าง ในอรรถว่า อาทิกาละ
(กาลอันเป็นเบื้องต้น) บ้าง. ภควา เป็นบทแสดงถึงว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ทรงเป็นครูของโลก.

บทว่า ภิกฺขุ เป็นบทกล่าวถึงบุคคลที่ควรจะได้ฟังพระเทศนา.
อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ภิกฺขุ นี้ พึงทราบความหมายของคำโดยนัย
เป็นต้นว่า ชื่อว่า ภิกขุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ คือ ชื่อว่า ภิกขุ
เพราะอรรถว่า เข้าถึงการเที่ยวไปเพื่อภิกษา.
บทว่า อามนฺเตสิ แปลว่า เรียก คือได้พูดด้วย (แต่) ใน
ที่นี้มีความหมายอย่างนี้ว่า เตือนให้รู้สึก (ส่วน) ในที่อื่น ย่อมลงใน
อรรถว่า ญาปนะ (ให้ทราบ) บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตขอเตือนเธอทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตขอประกาศให้เธอทั้งหลายทราบ
ดังนี้.
ลงในอรรถว่า เรียก บ้าง สมจริงดังพระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอจงมา จงไปเรียกพระสารีบุตรมาตามคำของเราตถาคต.

บทว่า ภิกฺขโว เป็นบทแสดงอาการเรียกมา จริงอยู่ คำนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะสำเร็จมาแต่การประกอบคุณ คือความ
เป็นผู้มีปกติขอ (ของภิกษุเหล่านั้น ) ก็นักศัพท์ศาสตร์ทั้งหลายสำคัญ
อยู่ว่า ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยคุณ คือความเป็นผู้ขอเป็นปกติบ้าง ชื่อว่า
เป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้ขอเป็นธรรมดาเป็นต้นบ้าง เป็นผู้
ประกอบด้วยคุณ คือความเป็นผู้มีปกติกระทำคำอนุโมทนาว่า "สาธุ"
ในการขอบ้าง.
ก็ด้วยคำที่สำเร็จจากการประกอบด้วยคุณ เช่นความเป็นผู้มีปกติ
ขอเป็นต้นของภิกษุเหล่านั้น นั้น ชื่อว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศ
จริยาวัตร (ของภิกษุเหล่านั้น) ที่คนชั้นสูงและคนชั้นต่ำคุ้นเคยกันแล้ว
(เป็นการ ) บำราบความเป็นผู้เห่อเหิมและความหดหู่ใจ (ของพวกเธอ)

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นให้หันหน้ามาหาพระองค์ด้วย
พระดำรัสที่มีการทอดพระเนตรดูด้วยพระหฤทัยที่เยือกเยินด้วยกระแสแห่ง
พระกรุณาเป็นเบื้องหน้า ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความประสงค์จะฟัง
ด้วยพระดำรัสที่แสดงความที่พระองค์ประสงค์จะตรัสสอนนั้นนั่นแล. และ
ทรงประกอบภิกษุเหล่านั้นไว้ แม้ในการตั้งใจฟังด้วยดีด้วยพระดำรัสที่ทรง
ประสงค์จะเตือน ( ภิกษุทั้งหลาย) ให้รู้สึกนั้นนั่นแล เพราะคุณสมบัติ
แห่งหลักคำสอนเกี่ยวเนื่องอยู่กับการตั้งใจฟังด้วยดี. ถ้าหากจะมีคำถาม
สอดเข้ามาว่า เกราะเหตุไร เมื่อเทวดาและมนุษย์เหล่าอื่นมีอยู่ จึงตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมา. ตอบว่า เพราะภิกษุทั้งกลาย เป็นผู้เจริญ
ที่สุด ประเสริฐที่สุด อยู่ใกล้ และอยู่พร้อมเพรียงกันตลอดเวลา.
อธิบายว่า พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั่วไปแก่บริษัท
ทุกเหล่า และภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเจริญที่สุดในบริษัท เพราะเป็นผู้
เกิดขึ้นก่อนบริษัทอื่น ชื่อว่าประเสริฐที่สุด เพราะมุ่งความเป็นบรรพชิต
เป็นเบื้องหน้า ประพฤติคล้อยตามอย่างพระศาสดา และรับเอาคำสั่งสอน
ทั้งสิ้น ชื่อว่าอยู่ใกล้ เพราะเมื่อนั่งอยู่ในที่นั้น ชื่อว่าอยู่ในสำนักของ
พระศาสดา ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันอยู่ทุกเมื่อ เพราะเที่ยวไปใกล้สำนัก
พระศาสดา.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นภาชนะแห่งพระธรรม-
เทศนา เพราะให้เกิดการปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพร่ำสอน
และเพราะเป็นบุคคลพิเศษ อนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงเฉพาะ เจาะจง ภิกษุบางพวกเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึง
ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมา ด้วยอาการอย่างนี้. ในข้อนั้น พึงมีคำถาม
สอดเข้ามาว่า ก็เพื่อประโยชน์อะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

แสดงธรรม จึงทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาก่อน ไม่ทรงอเสดงธรรมเลย
ทีเดียว ? ตอบว่า เพื่อให้เกิดสติ เพราะว่า ภิกษุทั้งหลายกำลังนั่งคิด
เรื่องอื่นอยู่บ้าง นั่งใจลอยอยู่บ้าง นั่งพิจารณาธรรมอยู่บ้าง นั่งมนสิการ
กรรมฐานอยู่บ้าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น
(ก่อนแล้ว ) แสดงธรรม ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะกำหนดได้ว่า พระ
ธรรมเทศนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย พระองค์ทรงแสดงเพราะเกิด
เหตุอะไรขึ้น พึงรับเอาผิด หรือว่ารับเอาไม่ได้เลย เหตุนั้น เพื่อเป็น
การเตือนสติภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาก่อนแล้วแสดงธรรมในภายหลัง.
คำว่า ภทนฺเต นั่น เป็นคำแสดงความเคารพ หรือเป็นการ
ถวายคำตอบแด่พระศาสดา อีกอย่างหนึ่งในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อตรัสว่า ภิกฺขโว ชื่อว่าตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมา ภิกษุเหล่านั้น
เมื่อทูลว่า ภทนฺเต ชื่อว่าตอบรับพระผู้มีพระภาคเจ้า. อนึ่ง พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ทรงประทานคำเรียกเฉพาะว่า ภิกฺขโว ภิกษุทั้งหลายถวาย
คำตอบว่า ภทนฺเต.
บทว่า เต ภิกฺขู หมายเอาพวกภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกมา.
บทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสุํ ความว่า ( ภิกษุเหล่านั้น ) ทูลรับ
พระพุทธฎีกา อธิบายว่า หันหน้ามาฟัง คือน้อมรับ ได้แก่ทูลรับ.
บทว่า ภควา เอตทโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

สูตรทั้งสิ้นนั้น คือที่จะพึงตรัสในบัดนี้.
ก็นิทานพจน์ใด ที่ประดับประดาด้วยกาละ เทศะ ผู้แสดง เรื่องราว
บริษัท และประเทศ เหมือนท่าน้ำอันมีภูมิภาคขาวสะอาดเดียรดาษด้วยเมล็ด
ทรายคล้ายสุธาดลอันเกลื่อนกล่นไปด้วยแก้วมุกดา มีบันไดอันพิลาสรจนา
ด้วยแผ่นศิลาที่ขัดไว้จนไร้ราคี เพื่อง่ายต่อการลงสู่สระโบกขรณีที่สล้างไป
ด้วยดอกบัวเขียว มีน้ำใสสะอาดรสจืดสนิท เหมือนบันไดอันมีชั้นละเอียด
อ่อนสำเร็จด้วยงาช้าง งามรุ่งเรืองเกิงแต่รัศมีของพวงแก้วมณีที่ร้อยด้วย
ลวดทองคำ เพื่อสะดวกต่อการก้าวขึ้นสู่พระมหาปราสาท มีฝาจัดได้
สมส่วน แลกั้นด้วยไพทีอันวิจิตรที่มีองค์ ( ดูเสมือน) จะเคลื่อนไหว
ได้ เสมือนมีประสงค์จะให้สูงเสียดทางเดินของดวงดาว เหมือนมหาทวาร
ที่มีบานกว้างใหญ่อันติดตั้งไว้ดีแล้ว เพริศแพร้วเรืองรองด้วยทองเงิน
มณี มุกดา และแก้วประพาฬเป็นอาทิ เพื่อสะดวกต่อการเข้าไปสู่คฤหาสน์
อัน โสภิตไปด้วยอิสสริยสมบัติ อัน โอฬาร เป็นสถานขวักไขว่ ไปด้วยผู้คนที่
พูดจาหัวเราะขัยเสียงอันไพเราะประสานกับเสียงกระทบของกำไลทองที่
คล้องไว้เป็นระเบียบ อันพระอานนทเถระเจ้ากล่าวไว้แล้ว การพรรณนา
ความแห่งนิทานพจน์นั้น เป็นอันจบบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้.

เหตุเกิดพระสูตร 4 อย่าง


บัดนี้ ถึงลำดับโอกาสที่จะพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ ดังนี้. ก็การ
พรรณนาพระสูตรนี้ เพราะเมื่อได้พิจารณาเหตุที่ทรงยกพระสูตรขึ้นแสดง
แล้ว จึงกล่าวย่อมแจ่มแจ้ง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักวิจารณ์เหตุที่ทรงยก